แนวข้อสอบกลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน ตำรวจสัญญาบัตร
01 เมษายน 2567
ผู้ชม 25 ผู้ชม
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
1. ข้อใดคือหนังสือราชการ
ก. เอกสารของทางราชการ ข. เอกสารโต้ตอบในราชการ
ค. เอกสารที่ทางราชการทำขึ้น ง. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
ตอบ ง. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
2. หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อให้ได้ในกรณีใด
ก. คำแนะนำ
ข. แถลงการณ์
ค. หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับราชการ
ง. การส่งของเอกสาร หรือ บรรสารระหว่างส่วนราชการ
ตอบ ง. การส่งของเอกสาร หรือ บรรสารระหว่างส่วนราชการ
3. ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีคำขึ้นต้นให้ใช้คำว่าอะไร
ก. เรียน ข. เสนอ
ค. กราบเรียน ง. ขอประธานกราบเรียน
ตอบ ก. เรียน
4. “งานสารบรรณ” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. งานที่เกี่ยวกับระเบียบการร่างโต้ตอบหนังสือและเสนอความคิดเห็น
ข. งานที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารงานเอกสาร
ค. งานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกหน่วย
ง. งานที่ทำด้วยหนังสือนับตั้งแต่คิดร่าง , เขียน , แต่งพิมพ์ , จดจำ , ทำสำเนา , ส่งรับ, บันทึก ,
ย่อเรื่องเสนอ ,สั่งการ , ตอบ , เก็บเข้าที่และค้นหา
ตอบ ข. งานที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารงานเอกสาร
5. หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการมี 6 ชนิด คือข้อใด
ก. หนังสือภายใน , หนังสือภายนอก , หนังสือที่มีไปมาระหว่างกระทรวง, ส่วนราชการมีถึง
บุคคลภายนอก และหนังสือที่ลงรับไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ข. หนังสือภายใน , หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ , หนังสือสั่งการและโฆษณาหนังสือ
ราชการที่ส่งออก และหนังสือราชการสำคัญเกี่ยวกับการเงิน
ค. หนังสือภายนอก , หนังสือภายใน, หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ , หนังสือสั่งการ
โฆษณา และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไส้เป็นหลักฐาน
ง. ผิดทุกข้อ
ตอบ ง. ผิดทุกข้อ
6. กรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบขึ้นด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่คน
ก. 2 คน ข. 3 คน
ค. 4 คน ง. เท่าใดก็ได้
ตอบ ข. 3 คน
7. ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรีคำลงท้ายให้ใช้คำว่าอะไร
ก. ขอแสดงความนับถือ ข. ของแสดงความเคารพนับถือ
ค. ขอแสดงความนับถืออย่างสูง ง. ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ตอบ ก. ขอแสดงความนับถือ
8. ระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับฉบับที่ 2 มีการแก้ไขมาตั้งแต่เมื่อใด
ก. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ข. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516
ค. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2548 ง. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548
ตอบ ค. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2548
9. หนังสือเรื่องใดที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป
ก. เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน ข. เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ
ค. เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
10. “ประกาศ” จัดเป็นหนังสือชนิดใด
ก. หนังสือสั่งการ ข. หนังสือแถลงข่าว
ค. หนังสือแถลงการณ์ ง. หนังสือประชาสัมพันธ์
ตอบ ง. หนังสือประชาสัมพันธ์
ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว
แบบที่ 1 แบบปริ้นอ่านได้เลย ราคาเพียง 399 บาท
แบบที่ 2 แบบหนังสือ+MP3 ราคา 699 บาท
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<
แนวข้อสอบ
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจ ไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 54 งานสารบรรณ พ.ศ.2556
*******************************
1. ระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในข้อใด วางไว้ให้ ข้าราชการตำรวจทุกนาย ถือปฏิบัติ
ก. ประมวลระเบียบการตำรวจ เกี่ยวกับคดี
ข. ประมวลระเบียบการตำรวจ ไม่เกี่ยวกับคดี
ค. ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ง. ถูกทั้ง ข และ ค
ตอบ ข.ประมวลระเบียบการตำรวจ ไม่เกี่ยวกับคดี
ระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แก่
2.1 ประมวลระเบียบการตำรวจ เกี่ยวกับคดี
- วางไว้ให้ ข้าราชการตำรวจ หรือ พนักงานสอบสวน ปฏิบัติเกี่ยวกับ
การใช้อำนาจหรือ การปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ อาญา หรือ กม.อื่น
2.2 ประมวลระเบียบการตำรวจ ไม่เกี่ยวกับคดี
- วางไว้ให้ ข้าราชการตำรวจทุกนาย ถือปฏิบัติ
2.3 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- เป็นระเบียบที่ ผบ.ตร. ได้วางไว้โดยอาศัยอำนาจของ กม.อื่น
2. ระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในข้อใด วางไว้ให้ ข้าราชการตำรวจ หรือ พนักงานสอบสวน ปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือ การปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ อาญา หรือ กม.อื่น
ก. ประมวลระเบียบการตำรวจ เกี่ยวกับคดี
ข. ประมวลระเบียบการตำรวจ ไม่เกี่ยวกับคดี
ค. ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ง. ถูกทั้ง ก และ ค
ตอบ ก. ประมวลระเบียบการตำรวจ เกี่ยวกับคดี (ดูคำอธิบายข้อ 1)
3. การสั่งการ กระทำได้กี่วิธี
ก. 3 วิธี ค. 2 วิธี
ข. 4 วิธี ง. วิธีเดียว
ตอบ ข. 4 วิธี
การสั่งการ กระทำได้ 4 วิธี ได้แก่
1 กระทำด้วย หนังสือ
2 กระทำด้วย วาจา
3 กระทำด้วย เครื่องมือสื่อสาร
4 กระทำด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
4. การสั่งการโดยปกติให้ทำโดยวิธีใด
ก. สั่งด้วยวาจา ค. ทำเป็นหนังสือ
ข. ใช้เครื่องมือสื่อสาร ง. ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ค. ทำเป็นหนังสือ
- โดยปกติให้สั่งการด้วยหนังสือ แต่ในบางกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ เร่งด่วน จำเป็น อาจกระทำด้วยวาจา หรือเครื่องมือสื่อสาร หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วให้มีหนังสือยืนยันตามไปโดยเร็วที่สุด เว้นแต่การสั่งการทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. หนังสือราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องใช้กระดาษชนิดใด
ก. กระดาษตราครุฑ ค. กระดาษบันทึกข้อความ
ข. กระดาษพิมพ์ลาย ง. กระดาษปอนด์ขาว
ตอบ ค. กระดาษบันทึกข้อความ
หนังสือราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ใช้ กระดาษบันทึกข้อความ (เท่านั้น) ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อความเสนอผู้บังคับบัญชา บันทึกย่อเรื่อง บันทึกรายงานที่ต้นได้ปฏิบัติมา บันทึกความเห็น บันทึกติดต่อ หรือบันทึกสั่งการ
6. แบบบันทึกข้อความขนาดใหญ่ มีขนาดเท่าใด
ก. A4 ค. F4
ข. A5 ง. A8
ตอบ ก. A4
แบบบันทึกข้อความ มี 2 ขนาด
- ขนาดใหญ่ ( A4 ) ใช้ในการบันทึกเสนอเรื่องที่มีข้อความยาว ซึ่งไม่สามารถบรรจุข้อความที่จะเสนอลงในบันทึกขนาดเล็กได้หมด
- ขนาดเล็ก ( A5 ) ใช้ในการบันทึกเสนอเรื่องที่มีข้อความสั้น
7. คำขึ้นต้นในบันทึกข้อความให้ใช้คำว่าอะไร
ก. เรียน ค. ด้วยความเคารพ
ข. กราบเรียน ง. ด้วยความนับถือ
ตอบ ก. เรียน
คำขึ้นต้นในบันทึกข้อความให้ใช้คำว่า “เรียน” ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชา สั่งการ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ต้องมีคำว่า เรียน
- ให้ระบุยศ ชื่อตัว ชื่อสกุล หรือตำแหน่ง
- หรือยศ ชื่อตัว ชื่อสกุล และตำแหน่ง ของผู้ใต้บังคับบัญชา
8. ในบันทึกข้อความจะต้องระบุสิ่งใด
ก. ชื่อตัว สกุล ค. ตำแหน่ง
ข. ยศ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
9. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการลงความเห็นของเจ้าหน้าที่
ก. ให้ใช้บันทึกฉบับเดียว
ข. ข้อความสั้นให้เขียน ข้อความยาวให้พิมพ์
ค. หากมีข้อความมากกว่า 1 หน้า หน้าต่อไปให้ใช้กระดาษไม่ต้องมีตราครุฑ แต่ให้มีคุณภาพเช่นเดียวหรือใกล้เคียงกับแผ่นแรก
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
การลงความเห็นของเจ้าหน้าที่ ตามปกติให้ใช้บันทึกฉบับเดียว ข้อความสั้นให้เขียน ข้อความยาวให้พิมพ์ และหากมีข้อความมากกว่า 1 หน้า หน้าต่อไปให้ใช้กระดาษไม่ต้องมีตราครุฑ แต่ให้มีคุณภาพเช่นเดียวหรือใกล้เคียงกับแผ่นแรก
10. ใครมีหน้าที่ออกเลขที่หนังสือส่ง
ก. ตร. ค. จตช.
ข. ผบ.ตร. ง. สลก.ตร.
ตอบ ง. สลก.ตร.
เมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใดนำเรื่องหรือบันทึกเสนอ ตร. เมื่อ ผบ.ตร. จตช. รอง ผบ.ตร. ผู้ช่วย ผบ.ตร. หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ได้ลงชื่อสั่งการแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นนำเรื่องไปให้ สลก.ตร.ออกเลขที่หนังสือส่งและลงทะเบียนคุมไว้ แล้วรับเรื่องคืนเพื่อดำเนินการต่อไป
แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม
********************
1. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ
ก. นายกรัฐมนตรี ข. คณะรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทย ง. ก.ตร.
ตอบข้อ ก. นายกรัฐมนตรี
2. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของ สตช.
ก. ถปภ. องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ
ข. ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติตาม ป. วิอาญา
ค. ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ง. ถูกทุกข้อ
3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการออกเป็นกี่ส่วน
ก. 2 ส่วน
ข. 3 ส่วน
ค. 4 ส่วน
ง. กี่ส่วนก็ได้แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบข้อ ก. 2 ส่วน ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 10 บัญญัติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 2. กองบัญชาการ
4. ใครเป็นอธิบดีกรมตำรวจคนแรกและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก
ก. พล. ท. พระวรางศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ , พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
ข. พล. ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ , พล.ต.อ. พรศักดิ์ ดุรรงค์วิบูลย์
ค. พล.ต.อ. ไสว ไสวแสนยากร , พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
ง. พล.ต.ท. พระยาอธิปกรณ์ประกาศ , พล.ต.อ. พจน์ บุณยะจินดา
ตอบข้อ ก. พล. ท. พระวรางศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ , พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
5. “ ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยจะทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อ ศีลธรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี อันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง ” เป็นคำกล่าวของใคร
ก. พล. ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ข. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ค. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ง. พล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล
ตอบข้อ ก. พล. ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
6. “ ก.ต.ช. ” ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ย่อมาจากอะไร
ก. คณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ข. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ค. คณะกรรมการาชการตำรวจ ง. คณะกรรมการกรมตำรวจแห่งชาติ
ตอบข้อ ข. ตามพ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 16 บัญญัติ “ ให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.ด.ช .”
7. บุคคลใดเป็นผู้บังคับข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข. นายกรัฐมนตรี
ค. จเรตำรวจแห่งชาติ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ข. ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 11 สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (2) เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รองจากนายกรัฐมนตรี นั่นก็หมายความว่า นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8. คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ มีบุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็น ประฐานกรรมการ
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ตอบข้อ ก. ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 17 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
9. บุคคลตามข้อใดเป็นกรรมการโดยที่ตำแหน่งของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ง. ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 17 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ปลัดกระทรวงยุติธรรมเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการโยตำแหน่ง
10. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ มีทั้งหมดกี่คน
ก. 3 คน ข. 4 คน
ค. 7 คน ง. 10 คน
ตอบข้อ ข. ตาม พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 17 กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมีทั้งหมด 4 คน
กฎ ก.ตร.
ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553
1. กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วัน
ก. 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. 45 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ ค. 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. ในการแต่ตั้งข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก. ควรคำนึง พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคล
ข. พิจารณาจากความรู้ความสามารถ
ค. ต้องผ่านอบรมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. ควรคำนึง พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคล
3. หน่วยงานใดทำหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณภาพของข้าราชการตำรวจ
ก. กองบัญชาการศึกษา ข. สถาบันฝึกอบรม
ค. จเรตำรวจแห่งชาติ ง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตอบ ก. กองบัญชาการศึกษา
4. กองบัญชาการศึกษามีหน้าที่อะไร
ก. กำหนดชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานข้าราชการตำรวจที่ประพฤติดีเยี่ยม
ข. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กำหนดกำหนดหลักสูตรพัฒนาและฝึกอบรมข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ค. สร้างเครื่องข่ายทั้งภายในและภายนอกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการตำรวจ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.ถูกทุกข้อ
5. การประกาศเชิดชูเกียรติข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใด
ก. จเรตำรวจแห่งชาติ ข. ก.ตร.
ค. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ง. ผู้อำนวยการกองบัญชาการศึกษา
ตอบ ข. ก.ตร.
6. การประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานและข้าราชการตำรวจในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจต้องกระทำเมื่อใด
ก. ทุกๆ 3 เดือน ข. ทุกๆ 6 เดือน
ค. ทุกๆ 1 ปี ง. ทุกๆ 2 ปี
ตอบ ค. ทุกๆ 1 ปี
7. หน่วยงานใดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทีต้องนำประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจไปกำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน
ก. จเรตำรวจแห่งชาติ ข. กองบัญชาการศึกษา
ค. สถานบันการฝึกอบรม ง. ทุกหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตอบ ค. สถานบันการฝึกอบรม
8. หน่วยงานใดมีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
ก. จเรตำรวจแห่งชาติ ข. กองบัญชาการศึกษา
ค. สถานบันการฝึกอบรม ง. ทุกหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตอบ ก. จเรตำรวจแห่งชาติ
9. หน่วยงานใดมีหน้าที่สอดส่องดูแลการรักษาประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
ก. จเรตำรวจแห่งชาติ ข. กองบัญชาการศึกษา
ค. สถานบันการฝึกอบรม ง. ทุกหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตอบ ก.จเรตำรวจแห่งชาติ
10. ข้อใดคืออำนาจและหน้าที่ของจเรตำรวจแห่งชาติ
ก. ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
ข. จัดทำคู่มือและคำอธิบายแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
ค. สอดส่องดูแลการักษาประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ